เหรียญ 10 บาท (สองสี) : วาระที่ 7 (เหรียญหกรอบ)
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
รายละเอียดความเป็นมา :
– คณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2542
– เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ (72 พรรษา) ในหลวง รัชกาลที่ 9 ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
รายละเอียดของเหรียญ :
– เหรียญกษาปณ์โลหะสองสี (สีขาวและสีทอง) ราคาสิบบาท
– ไม่ขัดเงา วงขอบนอกมีเฟืองจักรสลับเรียบ
– โลหะสีขาว ประกอบด้วย ทองแดง ร้อยละ 75, นิกเกิล ร้อยละ 25
– โลหะสีทอง ประกอบด้วย ทองแดง ร้อยละ 92, อะลูมิเนียม ร้อยละ 6, นิกเกิล ร้อยละ 2
– ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 26 มิลลิเมตร หนักเหรียญละ 8.5 กรัม
– อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด เนื้อโลหะเผื่อร้อยละ 1 และน้ำหนักเผื่อ 30 เซนติกรัม ต่อ 1 เหรียญ
รายละเอียดทั่วไป :
– เหรียญ 10 บาท สองสี ที่ระลึก, เหรียญ 10 บาท (สองสี) วาระที่ 7
– เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
– ประกาศกำหนดลักษณะเหรียญ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2542
– ประกาศออกใช้เหรียญ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2542
– ประกาศออกใช้เป็นเหรียญที่ระลึก แบบที่ 7 (เรียงลำดับตามชนิดราคา และวันที่ประกาศใช้)
– จำนวนการผลิตเหรียญ ไม่เกิน 6,300,011 เหรียญ
ลวดลายด้านหน้าของเหรียญ
กลางเหรียญ :
– มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงผินพระพักตร์ทางเบื้องขวา ทรงเครื่องบรมขัตติยภูษิตาภรณ์ ทรงฉลองพระองค์ครุย
ภายในวงขอบเหรียญ :
– ด้านขวา มีข้อความว่า “ภูมิพลอดุลยเดช”
– ด้านซ้าย มีข้อความว่า “บรมราชาธิราช”
ลวดลายด้านหลังของเหรียญ
กลางเหรียญ :
– มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542
– ประกอบด้วย อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภปร ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ประดิษฐานอยู่เหนือพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ล้อมรอบด้วย ตราพระแสงจักร และมีเลข 9 อยู่ด้านบน, สัปตปฎลเศวตฉัตร ประกอบทั้งสองข้าง, นพปฎลมหาเศวตฉัตร ประดิษฐานอยู่เบื้องบนสุด, ดอกบัว 4 ดอก, รัศมีโดยรอบ
ภายในวงขอบเหรียญ :
– เบื้องบน มีข้อความว่า “มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ”
– ด้านขวา มีเลขบอกราคาว่า “๑๐”
– ด้านซ้าย มีข้อความว่า “บาท”
– เบื้องล่าง มีข้อความว่า “๕ ธันวาคม ๒๕๔๒ ประเทศไทย”
เหรียญกษาปณ์ชนิดราคาอื่นในวาระเดียวกัน
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542 ดังกล่าว กระทรวงการคลังได้จัดทำขึ้น โดยออกใช้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 153 (พุทธศักราช 2542) ออกตามความในพระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช 2501 จำนวน 7 ชนิดราคา ได้แก่
แบบธรรมดา : เหรียญ 10 บาท (สองสี) / เหรียญ 20 บาท / เหรียญ 600 บาท / เหรียญ 6,000 บาท
แบบขัดเงา : เหรียญ 20 บาท / เหรียญ 600 บาท / เหรียญ 6,000 บาท
****************************
เรียบเรียงโดย : ลิงรักเหรียญ
อ้างอิงข้อมูลจาก :
– The Treasury Department (กรมธนารักษ์)
– WIKIPEDIA (สารานุกรมเสรี)
– ราชกิจจานุเบกษา ประเภท ก. เล่ม 116 ตอนที่ 36 ก (1 พฤษภาคม 2542)
– ราชกิจจานุเบกษา ประเภท ง. เล่ม 116 ตอนพิเศษ 30 ง (1 พฤษภาคม 2542)